ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ นางสาวชลธิชา เจ็ดกระโทก ในรายวิชา นวัตกรรม เทคโนโลยีและ สารสนเทศทางการศึกษา ผู้เข้าชมบล็อกสามารถแวะมาเยี่ยมชมรายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเต็มของตัวเองเป็นการศึกษาได้เชิญรับชมประวัติของบล็อกได้คะ

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

คุณธรรม 8 ประการ


คุณธรรม ประการ
หัวใจของการเรียนการสอน คือ การที่นักเรียนได้สัมพันธ์และสัมผัสกับสรรพสิ่งที่อยู่ภายในตัวเองและรอบตัวนักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกทำ  ฝึกวัดและประเมิน ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ได้รับการฝึกหัด ขัดเกลาทั้งกาย วาจา ใจและได้เรียนในบรรยากาศที่ปลุกฝัง ปลุกเร้าจินตนาการสร้างเสริมสุนทรียภาพ
กระทรวงศึกษาธิการ  ได้กล่าวถึง การจัดการเรียนการสอนไว้ว่า
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากจะมุงปลูกฝังด้านปัญญา
พัฒนาการคิดของผู้เรียน ให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณแล้ว
ยังมุ่งพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ โดยการปลุกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง
เข้าใจตนเอง เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา เป็นงานที่ผู้บริหารสถานศึกษา
จะต้องจัดในหลายด้าน ตั้งแต่วัสดุครูภัณฑ์ อุปกรณ์ แบบพิมพ์ต่าง ๆ
กระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้
รวมทั้งเทคนิคกระบวนการเรียนรู้ที่ทันสมัย เพื่อเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร
การควบคุม กำกับ ติดตาม  การนิเทศการเรียนการสอน
เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาการจัดการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามแนวทางที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้อธิบายว่า
การจัดการเรียนการสอนยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
จึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้
และบูรณาการตามความเหมาะสม มีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน
ฝึกทักษะกระบวนการคิด ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ปลูกฝังคุณธรรม
ค่านิยมที่ดีงาม ครูต้องจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม
และสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างการเรียนรู้ ประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย
รับส่งเสริมการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
มีการวัดและประเมินผลอย่างเหมาะสม
ประเวศ วะสี ได้อธิบาย กระบวนการเรียนรู้ว่าเป็นกระบวนการทางปัญญามี
10 ขั้นตอน คือ
1) การฝึกสังเกต
2) การฝึกบันทึก
3) การฝึกนำเสนอ
4) การฝึกฟัง
5)การฝึกปุจฉา
6) การฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม
7)การฝึกค้นหาคำตอบ
8) การวิจัยเพื่อสร้างความรู้
9)การฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ
10)การฝึกเขียนเรียบเรียง
กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งด่วนเรื่อง
เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้  เพื่อสร้างความตระหนัก
สำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย
เพื่อพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง
ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา
โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข   ดังนั้น
เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม 8 คุณธรรมพื้นฐาน
ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย
                  1.       ขยัน
ความหมายของคำว่า ขยัน คือ
ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ
อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค  ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญา
แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม  ผู้ที่มีความขยัน คือ
ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรผู้ที่เป็นคนสู้งาน
มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ
ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง
                   2.       ประหยัด
ความหมายของคำว่า ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม
ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย
ฟุ้งเฟ้อ
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม  ผู้ที่มีความประหยัด คือ
ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน
คิดก่อนใช้คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า
รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
                    3.       ความซื่อสัตย์
ความหมายของคำว่า ความซื่อสัตย์ คือ
ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ
ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม  ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ
ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล
คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง
                    4.       มีวินัย
ความหมายของคำว่า มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน
ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม  ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ
ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ
โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
                  5.       สุภาพ
ความหมายของคำว่า สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม
มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม  ผู้ที่มีความสุภาพ คือ
ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง
วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง
เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
6.       สะอาด
ความหมายของคำว่า สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ
และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม  ผู้ที่ความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย
ที่อยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว
จึงมีความแจ่มใสอยู่เสมอ
                  7.  สามัคคี
ความหมายของคำว่า สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน
ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุ
ผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท
ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล
ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ
ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม     ผู้ที่มีความสามัคคี คือ
ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง
ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้
เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ
พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ

                 8.   มีน้ำใจ
ความหมายของคำว่า มีน้ำใจ คือ
ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง
แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อน มนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่
ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น
และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม  ผู้ที่มีน้ำใจ คือ
ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน
เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน
อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา
หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมประจำใจ
ควรมีการปลูกฝังในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นการบรรยาย  เล่านิทาน  หรือฝึกประสบการณ์
โดยจะยกตัวอย่างดังนิทานเรื่อง ขุมทรัพย์ในไร่องุ่น
โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้   ที่ไร่องุ่นแห่งหนึ่ง
มีพ่อผู้สูงอายุกับลูกชายจอมขี้เกียจ 3 คน อาศัยอยู่
ต่อมาพ่อล้มป่วยลงและก่อนที่พ่อจะใกล้สิ้นลมหายใจ ได้เรียนลูกชายทั้ง 3
คนมาสั่งเสียว่า  อย่าขายที่ดิน  เพราะพ่อได้ซ่อนขุมทรัพย์มหาศาลเอาไว้
ให้ขุดดินพรวนดิน ขุดหาให้ทั่วทุกตารางนิ้วของไร่  เมื่อพ่อได้สิ้นใจตายลงไปแล้ว
ลูกชายทั้ง 3 คนก็ลงมิและตั้งหน้าตั้งตาไถคราดพรวนดินของพวกเขา
แต่ก็ไม่พบแม้แต่เศษเงินอย่างที่พ่อได้บอกไว้
หนึ่งปีผ่านไปไร่องุ่นที่พวกเขาตั้งหน้าตั้งตาขุดพรวนดินเพื่อหาขุมทรัพย์นั้นเกิดผล
ออกดอกออกผลออกมาและเมื่อเป็นเช่นนั้นลูกชาย 3 คน
จึงหันมาช่วยกันนำผลองุ่นเหล่านั้นออกขายและพวกเขารู้ว่าขุมทรัพย์ที่พ่อพูดถึงนั้น
หมายถึงการทำงานหนัก
ขยันขันแข็งเอาหยาดเหงื่อแรงงานเข้าแลกในที่ดินที่พ่อของพวกเขาได้ทิ้งไว้ให้มากกว่านั้นเอง
คติสอนใจคือ  ความขยันทำให้ทำงานสำเร็จ  เมื่อเราขยัน
การงานที่เราทำนั้นก็จะสำเร็จดังใจที่เราหวังไว้แต่ถ้าเราขี้เกียจ
การงานที่เราทำนั้นก็จะล้มเหลวไม่สำเร็จ
ดังนั้นเราควรจะขยันไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการศึกษาก็ดี
การเล่านิทานให้เด็กฟังเป็นประจำ
จะช่วยปลูกฝังให้เด็กรู้จักคิดเป็น  ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็นด้วย
ซึ่งไรองุ่นก็เปรียบเสมือนการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา หมายถึง
ความรักของครูที่เอาใจใส่ เข้าใจนักเรียน และมีใจให้แก่การสอน
เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรมตามสังคมต้องการ
ครูจึงมีบทบาทสำคัญที่ต้องการจัดเนื้อสาระให้กับผู้เรียน
ได้พัฒนาความรู้ความสามารถเป็นพลเมืองดีของชาติมีน้ำใจ คือ
นักเรียนโรงเรียนหนองทุ่มสงเคราะห์
มีความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ
เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ
ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น
และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน  การเรียนการสอนควรแทรกคุณธรรม
จริยธรรม คือการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรมนักเรียนภายในโรงเรียน
โดยมีการสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมในชั่วโมงเรียน
เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียนนักเรียนประพฤติตนให้มีคุณธรรมพื้นฐานครบ 8
ประการ

โครงการสอน


โครงการสอน
รหัสวิชา  PC54505   3(2-2-5)วิชานวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา 
Innovation, Technology and Information in Educationสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
 คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ภาคเรียน1/2555

คำอธิบายรายวิชา
     ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์  ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ  การนำไปใช้  การประเมินผล  การปรับปรุงนวัตกรรม  สามารถเลือกใช้  ออกแบบ  สร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์
    เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
    1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
    6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
    7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
    10. เสนอแนวทางในการสร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
    11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
    12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
รูปแบบการเรียนการสอน
     เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) กับการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Learning)
วิธีสอน
     ใช้วิธีสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning)  และวิธีสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2  หลักการ แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารมสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4  จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 5  การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6  นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7  คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8  เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน

สไลด์